ออกกำลังกายมากไป หรือเปล่า เช็คด่วน! 10สัญญาณเตือน
การออกกำลังกาย นับว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ แต่หากคุณ ออกกำลังกายมากไป หรือหักโหมมากจนเกินไป ก็จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้เหมือนกันดังนั้นมาลองเช็คกันสักนิดว่าคุณกำลังออกกำลังกายมากไปหรือเปล่า ซึ่งเช็คได้จาก 10 สัญญาณเตือนดังต่อไปนี้
1. ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงและเฉียบพลัน
- ขณะออกกำลังกาย หากคุณมีอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงและเฉียบพลัน นั่นแสดงว่าคุณออกกำลังกายมากเกินไปแล้วล่ะ ซึ่งคุณจะต้องหยุดออกกำลังกายทันทีและรีบรักษาให้หายพร้อมปรับร่างกายให้ฟื้นฟูกลับสู่สภาพปกติ จึงจะเริ่มต้นออกกำลังกายใหม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะนำไปสู่อาการกล้ามเนื้ออักเสบ ข้อต่ออักเสบ ซึ่งอาจรุนแรงและส่งผลเสียในระยะยาวได้เลยทีเดียวแต่ทั้งนี้เมื่อกลับมาเริ่มต้นออกกำลังกายอีกครั้ง ควรเริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ ก่อนและต้องไม่หักโหมด้วย
2. ไร้เรี่ยวแรง
- โดยปกติแล้วการออกกำลังกาย จะทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง และมีเรี่ยวแรงมากยิ่งขึ้น เพราะระบบต่างๆ ในร่างกายจะทำงานและเผาผลาญได้ดี จึงส่งผลให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่ามากกว่าเดิม แต่หากออกกำลังกายไปแล้ว เรากลับรู้สึกหมดแรง เหนื่อย เพลีย นั่นแสดงว่า ออกกำลังกายหนักเกินไป จนเกิดความเหนื่อยและเพลียสะสม ซึ่งเมื่อมีอาการดังกล่าว ต้องรีบหยุดออกกำลังกายและพักผ่อน 1-2 วัน หรือจนกว่าจะหายเพลีย เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวก่อนนั่นเอง และอย่าลืมปรับตารางการออกกำลังกายใหม่โดยสามารถเริ่มวิธีการออกกำลังกายง่ายๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความพร้อมของร่างกายมากที่สุด
3. ความดันโลหิตสูง
- การออกกำลังกายจะส่งผลต่อการสูบฉีดของเลือดในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น แต่หากออกกำลังกายมากจนเกินไป ระดับความดันโลหิตจะสูงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ซึ่งหากคุณพบว่าระดับความดันโลหิตสูงกว่าปกติทั้งที่ไม่ได้เป็นโรคความดันสูงก็แสดงว่านั่นเป็นสัญญาณเตือนจากการที่คุณหักโกมออกกำลังกายมากเกินไปนั่นเองดังนั้นจึงควรงดการออกกำลังกาย หรือลดความหักโหมลงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหัวใจตามมา
4. น้ำหนักลดมากผิดปกติ
- แน่นอนว่าการออกกำลังกายมุ่งเน้นการลดน้ำหนัก ไขมันส่วนเกินและสร้างสุขภาพที่ดี แต่หากน้ำหนักของคุณลดลงอย่างรวดเร็วมากจนผิดปกติ อย่าได้เข้าใจผิดและดีใจไปเด็ดขาด เพราะนั่นแสดงว่าคุณกำลังหักโหมในการออกกำลังกายมากเกินไป ทำให้ระบบร่างกายและสุขภาพพัง แม้จะผอมลงแต่อันตรายสูง เพราะฉะนั้นการออกกำลังกายให้ผอมต้องปรับการออกกำลังกายให้น้อยลง แม้ได้ผลช้าแต่ดีกว่าแน่นอน
5. ภูมิคุ้มกันผิดปกติ
- การออกกำลังกายมากผิดปกติจนเกินขีดจำกัดที่ร่างกายเรารับไหว จะส่งผลเสียต่อร่างกายคือ ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ มีภาวะภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย และเกิดการอักเสบอย่างง่ายดายมากขึ้นนอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคมะเร็งได้อีกด้วยเพราะฉะนั้นควรออกกำลังกายแต่พอดี อย่าหักโหมจนระบบพัง เพราะคงไม่เป็นผลดีกับตัวของคุณแน่
6. กล้ามเนื้อกระตุก
- หากร่างกายคุณอ่อนล้า จนรู้สึกเพลียและมีอาการกระตุกที่กล้ามเนื้อ นั่นเป็นสัญญาณว่า คุณกำลังเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้ออักเสบหรือฉีกขาด ซึ่งนับเป็นสัญญาณสุขภาพที่อันตรายมาก เพราะฉะนั้นจงอย่ามองข้ามอาการดังกล่าวและควรลดการหักโหมของการออกกำลังกายลงด้วย
7. เท้าและเข่าบวมแดง
- อาการเท้าและเข่าบวมแดง มักเกิดขึ้นกับคนที่มักวิ่งออกกำลังกายเป็นประจำ แต่หากเมื่อใดที่คุณหักโหมมากเกินไป จนเท้าและเข่ามีอาการบวมและแดง คุณต้องลดภาวะความหักโหมนั้นลง ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อแข้งอักเสบอย่างรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลให้เดินไม่ได้เลย
8. อารมณ์แปรปรวน
- การออกกำลังกายในระดับที่พอดี จะทำให้สุขภาพและอารมณ์ดีขึ้นเพราะช่วยลดความเครียดไปในตัว แต่หากคุณออกกำลังกายหักโหมมากจนเกินไป ความเหนื่อยล้าจะสะสมในร่างกายและทำให้เกิดความเครียด หงุดหงิด และอารมณ์แปรปรวนได้ ฉะนั้นแล้ว ดังนั้นใครที่รู้สึกว่าสภาวะอารมณ์ไม่ค่อยดี ก็ควรรีบปรับลดการออกกำลังกายหรือวิธีเบิร์นไขมันทั้งตัวให้เหมาะสมโดยด่วน
9. ประจำเดือนมาผิดปกติ
- เมื่อสาวๆ ออกกำลังกายมากจนเกินไป ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะเปลี่ยนแปลงจนไม่สมดุล ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรืออาจไม่มาเลย ยิ่งหากมีการควบคุมอาหารแบบเคร่งครัดร่วมด้วย ก็จะยิ่งทำให้ความผิดปกตินั้นมากและเป็นอันตรายมากขึ้น จนส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ได้
10. เกิดหิดปลาทู
- ภาวะหิดปลาทู คือ ภาวะที่ระบบเผาผลาญในร่างกายพัง สืบเนื่องจากการออกกำลังกายอย่างหักโหมต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายเคยชินจนไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอีก โดยสามารถสังเกตได้ง่ายและชัดเจน หากคุณออกกำลังกาย ควบคุมอาหารอย่างต่อเนื่อง และปฎิบัติทุกอย่างอย่างเคร่งครัดแล้วแต่น้ำหนักของคุณก็ไม่ยอมลดลงสักทีนั่นหมายความว่าคุณอาจกำลังเกิดภาวะหิดปลาทูแล้วล่ะ ดังนั้น ควรหยุดการออกกำลังกายประมาณ 7-10 วัน แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ พร้อมกับรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพียงเท่านี้ ภาวะดังกล่าวก็จะค่อยๆ ดีขึ้น และกลับสู่สภาวะปกติแล้วล่ะ
หากพบสัญญาณดังกล่าวเหล่านี้ ให้คุณหยุดสำรวจตัวเองดูก่อนว่ากำลังออกกำลังกายมากเกินไปหรือเปล่า แล้วรีบปรับเปลี่ยนวิธีการออกกำลังกายโดยด่วน เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อร่างกายไปมากกว่านี้นั่นเอง