ในปัจจุบันการกินอาหารแบบ คีโต ไดเอทเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในวิธียอดนิยมที่ใคร ๆ ก็เลือกใช้กัน แต่สำหรับคนที่ ออกกำลังกาย แล้วอาจจะมีความกังวลว่าการหยุดกินคาร์โบไฮเดรตจะส่งผลให้ออกกำลังกายนั้นไม่มีประสิทธิภาพร่างกายเราใช้น้ำตาลกลูโคส (Glucose) เป็นพลังงานหลัก หากหยุดกินแล้วก็อาจจะไม่มีแรงวันนี้เราเลยจะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยกันว่าออกกำลังกายแล้ว กินคีโต ได้หรือไม่ ขอบคุณ ร้านขนมปังคีโต Ketopung สำหรับบทความคีโตดีๆ
ออกกำลังกายแล้วกินคีโตได้หรือไม่ ?
หลาย ๆ คนที่อาจสงสัยว่าขณะที่ออกกำลังกายจะสามารถกินคีโตควบคู่ไปด้วยได้หรือไม่? คำตอบก็คือได้แน่นอนค่ะ และนับว่าเป็นวิธีลดน้ำหนักคนอ้วนลงพุงที่ดีอีกด้วย แต่อาจจะไม่ค่อยเหมาะกับคนที่ออกกำลังกายหนักมาก ๆ หรือนักกีฬาที่ใช้กำลังเยอะ ๆ เมื่อร่างกายของเราเข้าสู่ภาวะคีโตสิสเมื่อไหรก็จะเริ่มดึงไขมันที่มีอยู่ในร่างกายออกมาใช้แทนคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานที่สูงกว่า ในทางวิทยาศาสตร์กีฬาจะเรียกว่า “Crossover Effect” ตามรูปภาพทางด้านล่าง
ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่านักกีฬาที่อยู่ในภาวะคีโตสิสสามารถเบิร์แคลลอรี่ได้มากถึง 70% เมื่อออกกำลังกายหนัก ๆ ในขณะที่นักกีฬาที่กินคาร์โบไฮเดรตปกติเบิร์นได้เพียงแค่ 55% เท่านั้น นั่นหมายความว่าคนที่กินคีโตอาจจะสามารถเบิร์นไขมันในร่างกายได้ดีกว่าคนที่กินคาร์โบไฮเดรตนั้นเอง ดังนั้นหากคุณเป็นคนที่ที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหนัก ๆ การรับประทานแบบคีโตอาจจะไม่ไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่ แต่ถ้าหากเป้าหมายของคุณคือการลดน้ำหนัก และเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก การรับประทานคีโตไปด้วยและออกกำลังกายไปด้วยก็จะช่วยให้ลดน้ำหนักได้แบบคูณสองกันไปเลยทีเดียว
กินคีโตส่งผลต่อการสร้างกล้ามเนื้ออย่างไร ?
สำหรับชาวคีโตแล้วการสร้างกล้ามเนื้ออาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสักหน่อย เพราะในปัจจุบันยังไม่มีผลวิจัยออกมาว่าการกินอาหารแบบคีโตจีนิกนั้นให้ผลดีกว่าในกลุ่มของผู้ที่การออกกลังกายหนัก ๆ หรือเล่นกีฬาที่ต้องพลังงานเยอะ ๆ นอกจากนี้ในทางโภชนาการแล้วคาร์โบไฮเดรตนั้นมีส่วนช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมหลังจากการออกกำลังกายหนัก ๆ ดังนั้นการที่เราลดคาร์โบไฮเดรตลงอัตราการซ่อมแซมและสร้างกล้ามเนื้อของเราก็จะลดลงไปด้วย นับว่าเป็นแนวทางลดน้ำหนักแบบถูกวิธีที่ช่วยส่งเสริมทางด้านสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย
แต่ทั้งนี้ก็ไม่หมายความว่าผู้ที่ออกกำลังกายหนัก ๆ จะไม่สามารถกินโตได้ ในวงการก๊ฬานักกีฬาส่วนใหญ่แล้ว นักกีฬามักจะเลือกวิธีการไดเดทคาร์บเป็นบางช่วง หรือลดการกินคาร์โบไฮเดรตสลับไปมาระหว่างการกินปกติ หรือที่เรียกว่า “Carb Cycling Diet” เพื่อเป็นการควบคุมน้ำหนักควบคู่ไปกับการสร้างกล้ามเนื้อ
บทส่งท้าย
การกินอาหารแบบคีโตแม้จะไม่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อหรือความทนทานในการออกกำลังกายได้ดีเท่ากับการกินคาร์โบไฮเดรต แต่ถ้าเป้าหมายของคุณคือการควบคุมน้ำหนักหรือรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง การกินอาหารแบบคีโตจีนิกก็เรียกได้ว่าตอบโจทย์มาก ๆ สำหรับผู้ที่รักการออกกำลังกาย
อ้างอิง
- Low-Carb/Ketogenic Diets and Exercise Performance https://www.healthline.com/nutrition/low-carb-diets-and-performance
- Exercise on Keto: Here’s What to Know https://www.healthline.com/nutrition/working-out-on-keto
- Balance of carbohydrate and lipid utilization during exercise: the “crossover” concept https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/7928844/